วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์  หรือวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ (อังกฤษsubprime mortgage crisis) หรือ วิกฤติซับไพรม์ และยังรู้จักกันในชื่อ วิกฤติสินเชื่อด้อยคุณภาพ  เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นชัดในช่วงปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 จุดเด่นของวิกฤตินี้คือการที่ความคล่องตัวของตลาดสินเชื่อทั่วโลกและระบบธนาคารลดลง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา การกู้ยืมและการให้กู้ยืมที่มีความเสี่ยงสูง และระดับหนี้สินของบริษัทและบุคคลที่สูงเกินไป วิกฤติครั้งนี้มีผลหลายขั้นและค่อย ๆ เผยให้เห็นความอ่อนแอในระบบการเงินและระบบการควบคุมทั่วโลก

วิกฤติครั้งนี้เริ่มจากการที่ภาวะฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริกาแตก และการผิดชำระหนี้ของสินเชื่อซับไพรม์และสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วง พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2549 ผู้กู้ยืมนั้นกู้ยืมสินเชื่อที่เกินกำลังโดยคิดว่าตนจะสามารถปรับโครงสร้างเงินกู้ได้โดยง่าย เพราะในตลาดการเงินนั้นมีมาตรฐานการปล่อยกู้ที่ต่ำลง ผู้ปล่อยกู้เสนอข้อจูงใจในการกู้ยืม เช่นเงื่อนไขเบื้องต้นง่าย ๆ และแนวโน้มราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทว่าการปรับโครงสร้างเงินกู้กลับเป็นไปได้ยากขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้นและราคาบ้านเริ่มต่ำลงในปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ในหลายพื้นที่ในสหรัฐ การผิดชำระหนี้และการยึดทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหมดเงื่อนไขเบื้องต้นอย่างง่าย ราคาบ้านไม่สูงขึ้นอย่างที่คิด และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเริ่มสูงขึ้น การยึดทรัพย์สินในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2549 และทำให้ปัญหาทางการเงินนั้นแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกในปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551ธนาคารและสถาบันทางการเงินที่สำคัญทั่วโลกรายงานยอดการขาดทุนที่สูงกว่า 4.35 แสนล้านดอลลาร์ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2551  นอกจากนี้ การหาเงินทุนโดยการออกตราสารพาณิชย์ก็ยากยิ่งขึ้น ซึ่งผลกระทบของวิกฤติซับไพรม์ในแง่มุมนี้สอดคล้องกับปัญหาสินเชื่อตึงตัว (Credit crunch) ความกังวลเรื่องความคล่องตัวทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งต้องแทรกแซงโดยการวางแผนฟื้นฟูบริษัททางการเงินเพื่อที่จะช่วยให้ผู้กู้ยืมที่น่าเชื่อถือสามารถยืมเงินได้ตามปกติ


สาเหตุการเกิดวิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์
1.การใช้จ่ายที่ล้นเกินทั้งภาครัฐบาลและประาชนที่เป็นหนี้มหาศาล
2. การลงทุนที่ล้นเกินโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดการเงิน
3. การเก็งกำไรที่ล้นเกินในภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดการเงิน
4. ราคาสินค้าและทรัพย์สินที่ล้นเกินกว่ามูลค่าแท้จริงของมัน 

เหตุการณ์สำคัญที่นำมาสู่การล้นเกินที่ก่อเกิดการพองตัวฟองสบู่
1) การเกิดการปรับเปลี่ยน หรือ เปิดเสรีนโยบายทางการเงินของสหรัฐอเมริกา ในปลายสมัยรัฐบาลคลินตัน กฎหมายการเงินถูกแก้ประมาณปี 1999 – 2000 ทำให้ธุรกิจการเงินสามารถไขว้กันได้ ก่อเกิดหน้าที่ทับซ้อนของเหล่าสถาบันการเงิน เป็นการ การยินยอมให้วาณิชธนกิจ ธนาคารพาณิชย์ และประกันภัย-ชีวิตร่วมอยู่ภายใต้ร่มธง (ทั้งเจ้าของและผู้บริหาร) เดียวกันได้ โดยมีเป้าหมายสร้างธุรกิจแบบครบวงจรแนวระนาบและดิ่ง ที่เรียกว่า Universal Banking ก่อให้เกิดการบริหารการลงทุนแบบเล่นแร่แปรธาตุที่พยายามทำให้หนี้สินจากกู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์(CDO) และร่วมทั้งการประกันความเสี่ยงหนี้สิน(CDS) มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าสินทรัพย์ที่แท้จริง 

2) การใช้นโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายมาก ในช่วงรัฐบาล จอร์จ ดับบลิว บุช เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังวิกฤติฟองสบู่แตกช่วงวิกฤตดอทคอม ด้วยการทำงบขาดดุลและการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายผ่านการลดอัตราดอกเบี้ย Fed fund rate จาก 6.5 % ปลายปี 2000 เหลือแค่ 1 % ในปี 2003 อัตราการลดอัตราดอกเบี้ยที่สูง คือการเพิ่งปริมาณอุปสงค์ของเงินเข้าไปในระบบ ก่อให้เกิดค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัว 

3) ผลของการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน นำไปสู่การขยายตัวของการลุงทุนมหาศาลในความพยายามที่จะเป็น “โรงงานโลก” โดยเฉพาะน้ำมัน และ สินค้าโภคภัณฑ์ทั้งโลหะและอโลหะ ทำราคาสินค้าถูกกระตุ้นจากปริมาณอุปสงค์มหาศาลจนมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมมาก ผลการทุ่มตลาดของสินค้าจีนที่มีต้นทุนวัตถุดิบและแรงงานที่ถูกกว่าในตลาดสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดการบริโภคสินค้าทางวัตถุจำนวนมาก ยิ่งการเงินโลกผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ยิ่งกระตุ้นให้สหรัฐอเมริกาเร่งพิมพ์พันธบัตรเพื่อตอบสนองความต้องการลัทธิบริโภคนิยมของทุนนิยม โดยลืมคิดถึงภาวะขาดดุลมาตลอดจากภาคเศรษฐกิจแท้ในช่วงครึ่งศตวรรษหลังที่ผ่านมา

4) การแพร่กระจายของที่แปรสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัวต่ำมาเป็นทุนผ่านนวัตกรรมการเงินใหม่ ตราสารที่มีหนี้เป็นหลักประกัน, CDO และ ตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง, CDS เพื่อตอบสนองการเก็งกำไรอย่างหนักในภาคตลาดทุน ทั้งที่จริงแล้วทั้ง 2 นวัตกรรมการเงินถูกคิดค้นเพื่อบริหารความเสี่ยงแต่กลับถูกใช้เป็นเครื่องมือการสร้างความเสี่ยงเสียเอง จากการนำออกมาใช้เพื่อเก็งกำไรล่วงหน้าอนาคตทั้งที่ไม่รู้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจะยังปราศจากความเสี่ยงแล้วเติบโตดัวยตราการอัตราการเติบโตเท่าเดิมหรือไม่ ร่วมถึงความฉ้อฉลทุจริตในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของนวัตกรรมการเงินของสถาบันการเงินเหล่านี้ ของบรรดาสถาบันการจัดอันดับ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนเก็งกำไรที่มากขึ้น เพื่อจะบรรดาวานิชธนกิจทางการเงินจะได้กินส่วนแบ่งการลงทุนที่เกิดขึ้น 

ผลกระทบโดยตรงวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา สู่ตลาดโลก 1.สหรัฐอเมริกา     ในฐานะต้นกำเนิดวิกฤติเศรษฐกิจจึงได้รับผลกระทบสูงสุด ผลสะท้อนได้จากตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 2008 ที่หดตัวลง 6.2 % ซึ่งเป็นสถิติการหดตัวรุนแรงที่สุดในรอบ 27 ปี โดยพบว่าผลกระทบจากภาคการเงินสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างหนัก จากปัญหาของอุตสาหกรรมรถยนต์ เมื่อ 3 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้แก่ General Motors, Ford และ Chrysler ประสบการขาดทุนอย่างหนักจนจำเป็นต้องอาศัยเงินกู้ยืมฉุกเฉินจากรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือไม่ให้ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย สาเหตุของการภาวะการขาดทุนอย่างหนัก เกิดเนื่องมาจากภาวะการขาดสภาพคล่องของตลาดเงินที่ทำให้ต้นทุนเงินทุนสูง รวมถึงราคาวัตถุดิบและน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
        แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะเริ่มมีการการหดตัวที่น้อยลงจากฟื้นตัวเศรษฐกิจและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการอัดเงินเข้าไปช่วยอุ้มเศรษฐกิจอย่างมหาศาล แต่ผลกระทบวิกฤติสถาบันการเงินจะสร้าง ความถดถอยทางเศรษฐกิจ อาจยืดเยื้อมากกว่าวิกฤติเศรษฐกิจในอดีต โดยพิจารณาจากเดือนตุลาคม ปี 2009 อัตราการว่างงานในสหรัฐ ได้ทะยานขึ้นสูงสุดในรอบ 26 ปี อยู่ที่ 10.2% ทั้งนี้ คาดว่าอัตราการว่างงานสหรัฐจะแตะจุดสูงสุดที่ 10.5% ในปี 2553 ในกรณีของวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐครั้งนี้นั้น ราคาบ้านปรับตัวถึงจุดสูงสุดประมาณปลายปี 2006 ดังนั้นกว่าราคาบ้านตกต่ำถึงจุดต่ำสุด จึงอาจต้องรอถึงปี 2011 ในส่วนของราคานั้น ได้ปรับลดลงแล้วประมาณ 20% จึงมีโอกาสปรับลดลงอีก 16% หากนำเอาสถิติในอดีตมาใช้คาดการณ์อนาคต
         สำหรับตลาดทุนนั้น จะปรับตัวลดลงมากกว่า (เฉลี่ยประมาณ 56%) แต่จะใช้เวลาปรับตัวที่เร็วกว่าคือ 3.4 ปี ในกรณีของสหรัฐนั้น ตลาดหุ้นวัดจากดัชนี S&P 500 ปรับตัวถึงจุดสูงสุดที่ 1565 จุดเมื่อ ต.ค.2007 ดังนั้นจึงน่าจะถึงจุดต่ำสุดภายในปี 2010 ปัญหาวิกฤติการณ์การเงินที่เกิดขึ้นส่งผลให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น และมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อสูงขึ้น จึงทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรลดลง
หากสภาวะการถดถอยเศรษฐกิจในสหรัฐ ยังเกิดต่อเนื่องต่อไป จะเป็นปัจจัยกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างชัดเจน และส่งผลโดยตรงกับภาคการบริโภคที่จะลดลง ซึ่งเมื่อสหรัฐเป็นศูนย์กลางการบริโภคของโลกการที่ความต้องการของภาคการบริโภคลดลงย่อมส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในภาพรวมด้วย

2.ยุโรป
           ยุโรปเป็นภูมิภาคได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์เงินโดยตรงมากสุดจากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นกลุ่มภูมิภาคที่มีการลงทุนผ่าน นวัตกรรมกรรมการเงินใหม่ ตราสารที่มีหนี้เป็นหลักประกัน, CDO และ ตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง ,CDS ในตลาดการเงินสหรัฐอเมริกาสูงสุด ผ่านกองทุนรวม กองทุนบำเหน็จบำนาญ และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามรูปแบบรัฐสวัสดิการ จะเห็นได้จากการหดตัวของ GDP อย่างต่อเนื่อง จากการเติบโตเฉลี่ย 3% ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ โดยมีจุดต่ำสุดที่ตลอดปี 2009 ที่ - 4.8 % ก่อนจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ ผลการหดตัวของ GDP ยังส่งผลถึงสภาวะเงินฝืดจากดัชนีผู้บริโภค ที่แตะระดับใกล้ 0 % ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2009 จนถึงปัจจุบัน ดุลการค้าของกลุ่มประเทศยุโรปตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2008 ขาดดุลต่อเนื่องในระดับสูงสุดโดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาที่มี ต้นกำเนิดวิกฤติเศรษฐกิจ สัดส่วนกว่า 15 % ใน ตลาดการส่งออกของประเทศยุโรป โดยเฉพาะช่วง 7 เดือนแรกของปี 2008 ชะลอตัวกว่า 4 % แต่อย่างไรก็ตามการขาดดุลการค้าลดลงตั้งแต่หลังเดือนสิงหาคม 2008 จากการลดการนำเข้าสินค้า กับการตั้งมาตรการกำแพงภาษีป้องกันการทุ่มตลาดของสินค้าเอเชีย โดยเฉพาะจีน เช่นเหล็ก เป็นต้น 
          ผลกระทบจากการหดตัวภาคส่งออกของสินค้าในยุโรปส่งผลให้เกิดอัตราว่างงานในยุโรปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะระดับ 9.6%ในปี 2009 ปัญหาสภาวะการว่างงาน คาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ไปกว่า 10% ไปจนถึงปี 2011 ถึงจะเริ่มลดลง เมื่อพิจารณาอัตราว่างงานในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร 16 เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 1999 โดยมีสเปนอัตราว่างสูงถึง 18.1 % จึงประมาณการว่า มีประชากรตกงานเพิ่มขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจการเงินครั้งนี้ ถึง 4.65 ล้านคนใน 1 ปีหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อการถดถอยของเศรษฐกิจยุโรปรุนแรงสุดในรอบ 13 ปี ตลาดทุนของยุโรปได้รับผลกระทบรุนแรงสุดจากวิกฤติครั้งนี้ โดยหดตัวเกือบ 60 % จากจุดสูงสุดที่กว่า 4,500 จุดในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2007 เหลือเพียงต่ำกว่า 2,000 จุด แสดงถึงการขาดความเชื่อมั่นในตลาดทุนของยุโรป ส่งผลถึงปัญหาเรื่องงบประมาณรัฐขาดดุลและปัญหาหนี้สาธารณะ จากการที่ประเทศสหภาพยุโรปดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดปัญหาหนี้สาธารณะ ซึ่งปัจจุบัน ประเทศสหภาพยุโรปมีหนี้สาธารณะถึง 80-85% ของ GDP (มากกว่าช่วงก่อนประสบปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมีหนี้สาธารณะอยู่ที่ระดับ 60-65 %) รัฐบาลประเทศสมาชิกอียูจึงต้องลดรายจ่าย ขึ้นภาษี และมีวินัยทางการเงินมากขึ้น เพื่อลดหนี้สาธารณะ มิเช่นนั้น จะส่งผลเสียมากมายในวงกว้าง จึงให้เกิดการถอนความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลต่างๆในยุโรปจากประเทศกำลังพัฒนา จะมีผลต่อภาวะเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศกำลังพัฒนา เพื่อปรับดุลภาพของงบประมาณเศรษฐกิจ 

3.เอเชีย
        ผลกระทบโดยตรงต่อภาคการเงินในเอเชียไม่มากนัก รวมทั้งในไทยด้วยส่วนหนึ่งคงมาจากการเรียนรู้จากวิกฤตในปี1997 อีกส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะระบบสถาบันการเงินในภูมิภาคนี้ยังล้าหลังอยู่ (ซึ่งในกรณีนี้ ความล้าหลังกลับเป็นสิ่งที่ดี) อย่างไรก็ตามตลาดทุนถูกกระทบหนักจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับของทุนสหรัฐอเมริกา และ ยุโรป แต่ในระยะหลังดีขึ้นมาระดับหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังต่ำกว่าก่อนวิกฤตอยู่พอสมควร
        ปัญหาสภาพคล่องทำให้ต่างชาติขายหุ้นและตราสารเพื่อนำเงินกลับประเทศตนเอง ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องของเงินดอลลาร์ในบางประเทศ ในบางประเทศ เช่นเกาหลีใต้ อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนลงอย่างมากเกาหลีใต้และสิงคโปร์ ต้องทำ Swap กับ US Fed (ประเทศละ $30 billion) เพื่อป้องกันปัญหาต่อสถาบันการเงิน มาเลเซียและสิงคโปร์ประกาศประกันเงินฝากเติมจำนวนในวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ส่วนไทยก็ยืดเวลาการบังคับใช้ พรบ.ประกันเงินฝาก
         เพราะฉะนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลกระทบที่ส่งผ่านในภาคเศรษฐกิจแท้จริง จากการหดตัวของสองตลาดหลักของโลกอย่าง ตลาดสหรัฐอเมริกา และ ยุโรป เศรษฐกิจเอเชียหดตัวอย่างรุนแรงในทุกประเทศ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2007 อย่างไรก็ดี ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียในไตรมาสที่ 2 ในปี 2008 กลับมีทิศทางที่ดีขึ้น ตรงกันข้ามกับประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ยังอ่อนแออยู่มาก เกิดจากภาคการผลิตและการส่งออกที่ปรับตัวรับวิกฤตโดยการลดสินค้าคงคลัง ในช่วงก่อนหน้า ได้เริ่มเพิ่มการผลิตเพื่อชดเชยสินค้าคงคลังที่ลดลงไปมาก ประกอบกับเริ่มมียอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากมาตรการของเอเชียสามารถกระตุ้นการลงทุนและบริโภคได้ในทันที โดยที่เห็นชัดเจนคือกรณีของจีนต่างจากสหรัฐฯ และยุโรป ใช้ไปในการแก้ไขระบบการเงินที่มีปัญหาเป็นส่วนใหญ่อย่างไรก็ดี มาตรการทางการคลังโดยเฉพาะจีนแม้จะมีมูลค่าสูงมาก ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้ประเทศเอเชียอื่นหลุดพ้นจากภาวะถดถอยของโลกและฟื้นตัวอย่างยั่งยืนได้ เนื่องจาก สินค้าที่จีนนำเข้าจากภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตและส่งออกต่อไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปเช่น


ผลกระทบทางอ้อ

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบกับสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาหลายอย่าง จีดีพีของสหรัฐอเมริกาถูกประเมินว่าจะหดตัวลงร้อยละ 5.5 ต่อปีในระหว่างไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2551 นายจ้างเลิกจ้างกว่า 2.6 ล้านตำแหน่งระหว่างปี 2551 ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 ในเดือนกันยายน 2551 จำนวนคนตกงานในสาขาการเงินสูงถึง 65,400 คนในสหรัฐ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 7.2 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 16 ปี


อ้างอิง


ชื่อ น.ส.ภคมน  ประสิทธิ์สัมฤทธิ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ห้อง 937 เลขที่ 21
เสนอ อาจารย์ ประพิศ ฝาคำ วิชา ส32102 เศรษฐศาสตร์
ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา